กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. … โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 20 มีนาคม 2565 รายละเอียดการรับฟังความคิดเห็น ตามเว็บไซต์แนบท้ายค่ะ คำอธิบายหลักการหรือประเด็นสำคัญของร่างกฏหมายหรือกฏหมายที่นำมารับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. …. และร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสาระสำคัญ ดังนี้1. การยกเลิกกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙6 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยจัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. …. และร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น2. การกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการให้คำแนะนำและวินิจฉัยการปฏิบัติการให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายนี้3. การกำหนดระบบและรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยให้มีระบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒ ชั้น คือ ระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดรับผิดชอบในระดับจังหวัดเทศบาลรับผิดชอบในระดับพื้นที่ โดยไม่กำหนดประเภทเทศบาลและเปลี่ยนแปลงฐานะขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลทั้งหมด4. การรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น โดยให้ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งอาจแบ่งเขตพื้นที่เทศบาลใหม่เพื่อความสะดวกในการติดต่อและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่และความเจริญของประชาชนในเขตพื้นที่นั้น ตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด5. สมาชิกสภาท้องถิ่นแบ่งตามเกณฑ์ประชากร ดังนี้(1) กรณีเทศบาล กำหนดจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลตั้งแต่เก้าคนถึงยี่สิบสี่คน ในช่วงจำนวนประชากรทุก ๆ ห้าพันคน ดังนี้(1.1) ประชากรไม่เกินห้าพันคนให้มีสมาชิกสภาเทศบาลได้เก้าคน(1.2) ประชากรเกินห้าพันคนแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นคนให้มีสมาชิกสภาเทศบาลได้สิบสองคน(1.3) ประชากรเกินหนึ่งหมื่นคนแต่ไม่เกินสามหมื่นคน ให้มีสมาชิกสภาเทศบาลได้สิบห้าคน(1.4)ประชากรเกินสามหมื่นคนแต่ไม่เกินห้าหมื่นคน ให้มีสมาชิกสภาเทศบาลได้สิบแปดคน(1.5) ประชากรเกินห้าหมื่นคนแต่ไม่เกินหนึ่งแสนคน ให้มีสมาชิกสภาเทศบาลได้ยี่สิบเอ็ดคน(1.6) ประชากรเกินหนึ่งแสนคน ให้มีสมาชิกสภาเทศบาลได้ยี่สิบสี่คน(2) กรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนดจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตั้งแต่ยี่สิบสี่คนถึงสี่สิบแปดคน ในช่วงจำนวนประชากรทุก ๆ ห้าแสนคน ดังนี้(2.1) ประชากรไม่เกินห้าแสนคน ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ยี่สิบสี่คน(2.2) ประชากรเกินห้าแสนคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านคน ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สามสิบคน(2.3)ประชากรเกินหนึ่งล้านคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนคน ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สามสิบหกคน(2.4)ประชากรเกินหนึ่งล้านห้าแสนคนแต่ไม่เกินสองล้านคน ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สี่สิบสองคน(2.5)ประชากรเกินสองล้านคนขึ้นไป ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สี่สิบแปดคน6. ผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดกันไม่ได้ เมื่อได้ดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้ถือว่าเป็นหนึ่งวาระ7. การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นกำหนดให้การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น8. หน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดให้ครอบคลุมเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ โดยนำกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกฎหมายอื่นที่จำเป็นในการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บัญญัติรวมไว้ในประมวลกฎหมายนี้ โดยหน้าที่และอำนาจของเทศบาล ไม่แบ่งแยกประเภทของเทศบาล และไม่แบ่งแยกหน้าที่ต้องจัดทำหรืออาจทำแต่ให้คำนึงถึงศักยภาพ ความสามารถ และมีรายได้ที่เพียงพอในการจัดทำบริการสาธารณะในพื้นที่ของตนรวมทั้งกำหนดหน้าที่และอำนาจองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกับหน้าที่และอำนาจของเทศบาลโดยให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะที่มีขนาดใหญ่หรือที่เกินศักยภาพของเทศบาล หรือคาบเกี่ยวระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือเป็นอำนาจหน้าที่ของเทศบาล แต่ไม่สามารถดำเนินการได้อันเกิดจากความเสียหายและกระทบต่อการจัดบริการสาธารณะแก่ประชาชน ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นอาจร่วมกันดำเนินการ หรืออาจมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการแทนได้ หรือจะขอให้จัดตั้งเป็นสหการหรือองค์กรที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นนิติบุคคล หรืออาจมอบให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคล หรือชุมชนหรือเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ รวมถึงความสะดวกในการให้บริการประชาชน9. ข้อบัญญัติท้องถิ่น กำหนดวิธีการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พิจารณาข้อบัญญัติของสภาท้องถิ่น และการตราข้อบัญญัติท้องถิ่น ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน10. การเงิน การคลัง และการงบประมาณกำหนดให้รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้มีบัญชีรายรับ รายจ่ายและบัญชีเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีรายรับ ให้กระทำได้เฉพาะที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม11. กองทุนส่งเสริมกิจการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมกิจการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นในกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ กองทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.ส.อ.) และกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล (ก.ส.ท.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสนับสนุนในการดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและวัตถุประสงค์อื่น12. การส่งเสริมการดำเนินงานกิจการสถานธนานุบาลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการดำเนินงานกิจการสถานธนานุบาลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ส.ธ.ท.) ทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ความเห็นชอบการจัดตั้งสถานธนานุบาล กำหนดนโยบายแนวทางการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนให้คำแนะนำ ช่วยเหลือสถานธนานุบาลรวมถึงกำหนดระเบียบ ข้อบังคับหรือออกคำสั่งเพื่อให้การดำเนินกิจการสถานธนานุบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและให้มีสำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (จ.ส.ท.) ขึ้นในกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ทำหน้าที่กำหนดระเบียบ ข้อบังคับ ออกคำสั่งเกี่ยวกับบุคลากรของสถานธนานุบาลและสำนักงาน จ.ส.ท. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน บัญชี พัสดุ การจัดสรรผลกำไร การตรวจสอบบัญชี และทรัพย์สินของสำนักงาน จ.ส.ท. และสถานธนานุบาล เป็นต้น13. ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เป็นการตัดอำนาจของส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จะจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเรื่องเดียวกัน เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในกิจการที่เป็นของหน่วยงานของรัฐ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และสนับสนุนกิจการของหน่วยงานของรัฐตามที่หน่วยงานของรัฐขอความร่วมมือ โดยให้คำนึงถึงหน้าที่และอำนาจ รวมทั้งฐานะทางการคลัง14. การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแลองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาล โดยอาจมอบหมายให้นายอำเภอปฏิบัติการแทนตามที่กำหนดสำหรับเทศบาลที่มีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนเก้าคนหรือสิบสองคนหรือสิบห้าคนหรือสิบแปดคนหรือยี่สิบเอ็ดคน โดยมีหน้าที่และอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามคำชี้แจง แนะนำหรือตักเตือนของผู้กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว โดยคงหลักการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่าที่จำเป็นเพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม การสั่งเพิกถอนหรือสั่งให้ระงับการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไว้ก่อน กำหนดกระบวนการสอบสวนและสั่งให้ผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งให้สอดคล้องกับกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด และเพิ่มเติมมูลฐานความผิดกรณีทุจริตต่อหน้าที่เป็นเหตุในการสั่งให้พ้นจากตำแหน่งเพื่อให้ครอบคลุมทุกพฤติการณ์การกระทำความผิด15. การมีส่วนร่วมของประชาชน กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลและรายงานผลการดำเนินงานให้ประชาชนทราบและมีกลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดกิจกรรม วิธีการ และกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนกำหนดผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการลงประชามติตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดกำหนดแนวทางการส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นการสนับสนุนการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยกรณีเทศบาลให้มีคณะกรรมการชุมชนรวมทั้งอาจจัดตั้งอาสาสมัครที่ทำประโยชน์ให้กับราชการหรือประชาชน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมถึงการจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดhttps://www.law.go.th/listeningDetail?survey_id=NTAxREdBX0xBV19GUk9OVEVORA==จากนั้นให้คลิกที่แถบเมนูสีน้ำเงิน #เริ่มแสดงความเห็น
https://www.law.go.th/listeningDetail?survey_id=NTAxREdBX0xBV19GUk9OVEVORA==